“ตลับเงิน หรือ กรอบเงิน”

 

 

“ตลับเงิน หรือ กรอบเงิน”  (สำหรับใส่พระเครื่อง)

                บทความต่อไปนี้ จะเป็น การเล่า ถึงความ แตกต่างระหว่าง ตลับเงินและกรอบเงินโดยทั่วไป ที่ หลายๆคนอาจจะงงๆ ว่า เอ๊ะ ! มัน ไม่เหมือนกันหรอเนี่ย แล้วมันต่างกันยังไง?

                ลองมาดูลักษณะทางกายภาพของตลับเงินก่อนนะครับ หลายๆท่านคงได้อ่านบทความเรื่อง “ตลับพระหรือกรอบพระ”ของผมไปแล้ว

ก็อาจจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น หรือคงนึกภาพออกแล้วนะครับ ว่า ตลับเงินเป็น รูปร่างอย่างไร

ที่เห็นกันโดยทั่วไปก็ จะเหมือนตลับใส่พระ สแตนเลสนั่นแหละครับได้แก่

ประเภทที่  1.แบบ ชิ้นงานเนื้อเงิน สองชิ้นเชื่อมต่อกันโดยมีบานพับอยู่ตรงฐานด้านล่างและมีเข็มหมุดเป็นตัวล็อคไว้เวลาปิดสนิท  

ประเภทที่  2. แบบ ชิ้นงานเนื้อเงิน สองชิ้นแยกออกจากกันได้ แต่เมื่อเวลาจะปิดประกบกันแล้วจะ มีเดือยชิ้นเล็กอยู่ใต้ตลับชิ้นหนึ่ง เพื่อล๊อคไว้ขณะปิดประกบกัน มีน้ำหนักเบา ถอดออกและสวมใส่พระเครื่องลงไปได้ง่าย

ส่วนกรอบพระเงิน  ลักษณะทางกายภาพส่วนใหญ่ ก็จะประกอบไปด้วย ชิ้นงานเนื้อเงินหลักๆสองชิ้นเหมือนกันครับ แต่ โดยชิ้นใหญ่ชิ้นแรก จะ ใช้หุ้ม พระเครื่องด้านหน้า  และชิ้นที่สอง ใช้ ประกบปิดเข้ากับด้านหลังของกรอบเงินมักเรียกว่า “แผ่นหลัง” ชิ้นงานของกรอบเงินจะมีความบางกว่าชิ้นงานของตลับเงินและ ส่วนมากก่อนการ ใส่พระเครื่องลงในกรอบเงิน มักจะเลี่ยมกรอบพลาสติกเพื่อกันน้ำเข้าไปสัมผัสกับผิวพระเครื่อง ก่อนแล้วจึงค่อยใส่กรอบเงิน เหมือนเป็นการจับขอบของกรอบพลาสติกที่เลี่ยมใส่พระไว้แล้วด้วย ชิ้นงานเงินอีกครั้งเพื่อความสวยงาม

อย่างไรก็ตาม หากหลายๆท่านที่อ่านแล้วยัง งงๆ ให้ลองนึกภาพว่า “ตลับเงิน” เปรียบเหมือนกับ ตลับภาชนะใส่สิ่งของซึ่งสามารถเปิดปิดได้ง่าย และ ให้เปรียบเทียบว่า”กรอบเงิน” เหมือนการใส่กรอบรูปให้กับรูปภาพนะครับ บางกรอบรูปก็ไม่มีกระจกป้องกันรูปภาพ ซึ่งหากกรอบรูปมีการเพิ่มกระจกเพื่อป้องกันบนรูปภาพแล้ว ก็เหมือนการเลี่ยมพลาสติกก่อนแล้วค่อยใสกรอบเงินทีหลังสุด นั่นเองครับ ....^_^.....